|
|
|
ประชาชนส่วนใหญ่ในตำบลห้วยแก้ว ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก รองลงมาคืออาชีพเลี้ยงสัตว์ และค้าขาย สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวตำบลห้วยแก้ว อยู่กันอย่างเรียบง่าย มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย และด้านศาสนาวัฒนธรรม ซึ่งส่งผลให้ชาวตำบลมีจิตใจที่ดีงาม และมีความพร้อมในการช่วยกันสรรค์สร้างให้ตำบลห้วยแก้วให้น่าอยู่ต่อไป |
|
|
|
|
|
|
ปัจจุบัน เทศบาลตำบลห้วยแก้ว มีสถานศึกษาในพื้นที่ จำนวน 5 แห่ง |

 |
โรงเรียนบางกระทุ่มพิทยาคม (มัธยมศึกษา) สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)กระทรวงศึกษาธิการ |

 |
โรงเรียนวัดแม่เทียบ (อนุบาล-ประถมศึกษา) สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)กระทรวงศึกษาธิการ |

 |
โรงเรียนวัดบางกระทุ่ม (อนุบาล-ประถมศึกษา) สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)กระทรวงศึกษาธิการ |

 |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลห้วยแก้ว แห่งที่ 1 (หมู่ที่ 6 บ้านบางกระทุ่มใน) สังกัด กองการศึกษา เทศบาลตำบลห้วยแก้ว |

 |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลห้วยแก้ว แห่งที่ 2 (หมู่ที่ 3 บ้านเกาะคู) สังกัด กองการศึกษา เทศบาลตำบลห้วยแก้ว |
|
|
|
|
|
 |
|
ศาสนสถานในตำบล มีวัด จำนวน 3 วัด |

 |
วัดห้วยแก้ว (เขตเทศบาลตำบลบางกระทุ่ม) |

 |
วัดบ้านแม่เทียบ |

 |
วัดบางกระทุ่ม |
|
|
|
|
 |
|

 |
อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100 |
|
|
|
|
|
|
ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรมต่างๆ เหมือนคนไทยภาคกลาง โดยการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ไม่ว่างานบวชงานแต่ง ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ จะมีพิธีทางศาสนาพุทธเข้ามาเกี่ยวข้องภาษาพูดจะใช้ภาษาไทยภาคกลาง ศาสนาประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยมีวัดกระจายตามหมู่บ้านต่างๆ จำนวน 3 วัด คือ วัดห้วยแก้ว (เขตเทศบาลตำบลบางกระทุ่ม) วัดบ้านแม่เทียบ วัดบางกระทุ่ม ซึ่งจะเป็นสถานที่ที่ประชาชน ร่วมกิจกรรมตามวันสำคัญทางศาสนาต่าง ๆ |
|
|